พลอยกับใบเซอร์ เป็นของคู่กัน

เหมือนรองเท้าต้องมีเป็นคู่ ถ้าขาดกันอาจทำให้ผู้สวมใส่เดินแกว่งได้ ฉันใด ถ้าพลอยขาดใบเซอร์ไป ความเสี่ยงย่อมมีสูง แต่การลดความเสี่ยง นั่นก็หมายถึง ต้นทุนจะต้องสูงขึ้น ครับ

อยู่ที่ผู้บริโภคจะตัดสินใจว่าจะแบกรับความเสี่ยงมากน้อยเพียงใด

ใบเซอร์มีประโชน์ต่อผู้ซื้อพลอย อย่างมาก

ใบเซอร์ จะบอกเรื่องสำคัญๆอะไรกับเราบ้าง ?
1. ข้อมูลเบื้องต้น เช่น วันที่พลอยถูกเซอร์ รูปร่างของพลอย น้ำหนกของพลอย สัดส่วนของพลอย ลักษณะการเจียไรของพลอย สีของพลอย รูปที่ถ่ายของตัวพลอย
ข้อมูลเบื้องต้นนี้จะช่วยให้ลูกค้าทราบว่าพลอยที่เราได้รับ ตรงกับ ที่ร้านค้าแจ้งข้อมูลมา วิธีการตรวจสอบใบเซอร์ของผู้ซื้อก็อาจจะวัดสัดส่วนของพลอย หรือ ชั่งน้ำหนักของพลอยว่าตรงตามนั้นรึเปล่า
2. ข้อมูลเชิงลึก เช่น ผลลัพธ์ของการวิเคราะห์พลอย ในส่วนนี้จะแบ่งออกเป็น สอง หัวข้อ คือ

2.1 การวิเคราห์ว่าเป็นพลอยแท้หรือสังเคราะห์ เช่น ถ้าเป็นพลอยแท้จะเขียนว่า Natural ตามด้วยชนิดพลอยนั้นๆ ถ้าเป็นสังเคราะห์จะเขียนว่า Synthetic
2.2 การวิเคาะห์ว่าเป็นพลอยเผาหรือพลอยดิบ เช่นถ้าเป็นพลอยดิบจะบอกว่า Unheat หรือ No indication of heat treatment แล้วแต่ภาษาของแต่ละสถาบันวิจัย

โดยส่วนมากเกือบทุกสถาบันวิจัยสามมารถบ่งบอกข้อมูลเบื้องต้นของพลอยได้หมด ใบเซอร์ที่ทั่วโลกนิยมใช้สำหรับ เซอร์พลอยก็จะเป็นของ GRS GemResearch Swisslab AG ส่วนในประเทศก็จะหลากหลายหน่อยแต่ที่จะใช้กันมากก็จะเป็น GRS, AIGS, GIT (สถาบันจุฬาฯ), HGT, Tokyo Lab, Emil ระยะเวลาในการทำใบเซอร์นั้น แตกต่างกันกัน บางที่ใช้เวลาไม่กี่วัน แต่บางที่ใช้เวลาถึง 2 เดือนในการเซอร์พลอยหนึ่งเม็ดเลยทีเดียว